วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 7
วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
เวลาเรียน 08.30 - 10.00 น.
ความรู้ที่ได้รับ
  • อาจารย์ได้อธิบายในการทำชิ้นต่างๆ ก่อนที่จะให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติ
  • อาจารย์ทำแป้งเปียกให้นักศึกษา เพื่อที่จะทำงานศิลปะ **แป้งจะต้องไม่เหลวหรือขนจนเกินไป เพราะจะไม่สามารถใช้ในการระบายสีได้**
  • กิจกรรมในวันนี้มีทั้งหมด 14 งาน โดยงานเดี่ยว 12 ชิ้นงานและงานกลุ่ม 2 ชิ้นงาน ดังต่อไปนี้
งานเดี่ยว

งานชิ้นที่ 1 การวาดภาพด้วยสีน้ำ
  • ผสมแป้งกับสีน้ำที่เตรียมไว้
  • ใช้พู่กันจุ่มสี พร้อมระบายลงไปในกระดาษ A4 เป็นรูปอะไรก็ได้ **ห้ามใช้ดินสอวาดร่างไว้เด็ดขาด**
  • เสร็จแล้วนำไปตากให้แห้ง

งานชิ้นที่ 2 การหยดสี
  • นำกระดาษ A4 หรือ กระดาษ 100 ปอนด์ มาชุบด้วยน้ำเปล่า
  • นำพู่กันไปจุ่มสีน้ำ และนำมาหยดลงบนกระดาษ **ไม่ต้องเป็นต้องใช้สีเดียวกันทั้งหมด**
  • เสร็จแล้วนำไปตากให้แห้ง

    งานชิ้นที่ 3 การเทสี
    • ใช้พู่กันไปจุ่มสีน้ำ และนำมาหยดลงบนกระดาษ A4 
    • ใช้มือจับกระดาษพลิกไปพลิกมาตามต้องการ
    • เสร็จแล้วนำไปตากให้แห้ง

      งานชิ้นที่ 4 การเป่าสี
      • ใช้พู่กันจุ่มสีน้ำ พร้อมกับหยดลงไปลงบนกระดาษ
      • ใช้หลอดกาแฟ เป่าสีให้เกิดการกระจายตัวออกไป
      • เสร็จแล้วนำไปตากให้แห้ง

      งานชิ้นที่ 5 การเป่าฟองสบู่
      • นำสีผสมอาหารผสมกับน้ำเปล่าสะอาด และแชมพูมาผสมกัน แล้วเทลงไปในถาดพลาสติกที่แบนๆ
      • ใช้ปากคาบหลอดพลาสติกและเป่าให้เกิดฟองสบู่
      • นำกระดาษมาแปะไว้บนฟองสบู่ พร้อมกับยกขึ้น **อย่าให้โดนน้ำ**

      งานชิ้นที่ 6 การกลิ้งสี
      • นำกระดาษ A4 ใส่ไปในฝากล่องกระดาษ
      • ใช้พู่กันหยดสีลงไปในกระดาษ
      • นำลูกแก้วมาใส่ในกล่อง พร้อมกับเขย่ากล่องไปมา **อย่าให้เด็กใช้ลูกแก้วตามลำพัง อาจเกิดอันตรายได้**
      • เสร็จแล้วนำไปตากให้แห้ง

        งานชิ้นที่ 7 การพับสี
        • นำกระดาษ A4 มาพับครึ่ง
        • ใช้พู่กันจุ่มสี และนำมาหยดตรงที่พับ
        • ใช้มือพับกระดาษอีกรอบ แล้วกางออก
        • เสร็จแล้วนำไปตากให้แห้ง

        งานชิ้นที่ 8 การพ่นสี
        • หาวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ใบไม้ ก้อนหิน เปลือกหอย เป้นต้น
        • นำวัสดุที่หามาได้ นำมาวางลงบนกระดาษ
        • ใช้ฟ๊อกกี้ที่มีสีต่างๆ เช่น สีส้ม สีเขียว ผสมตามที่เราชอบ นำมาฉีดบนกระดาษ ก็จะได้ภาพดังรูปนี้

        งานชิ้นที่ 9 การดึงเส้นด้ายชุบสี
        • นำด้ายมาจุ่มลงไปในสีที่ต้องการ
        • พร้อมกับวาดลงไปในกระดาษ A4 วาดรูปอะไรก็ได้จากด้าย

        งานชิ้นที่ 10 การสลัดสี
        • นำแปรงสีฟันที่ไม่ใช้แล้ว มาจุ่มสีที่ต้องการ
        • ใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงไปเบาๆที่แปรง พร้อมไล่นิ้วขึ้นลงเร็วๆ เพื่อให้เกิดการกระเด็นของสี หรือเรียกว่าการสลัดสีนั้นเอง

        งานชิ้นที่ 11 การย้อมสี
        • ใช้กระดาษทิชชูแผ่นใหญ่ 1 แผ่น
        • พับกระดาษทิชชูตามที่เราต้องการ
        • นำมุมของกระดาษไปจุ่มสีที่ต้องการ ให้ทั่วทั้งหมด
        • นับออกมาคลี่ออก **ระวังอย่าให้สีเทรวมกัน**
        • นำไปตากแดดให้แห้ง

        งานชิ้นที่ 12 การเพ้นท์ก้อนหิน
        • เลือกก้อนหินที่อาจารย์เตรียมไว้ให้ อย่างน้อยคนละ 2 ก้อน
        • ใช้พู่กันแต้มสีน้ำสำหรับเพ้นท์ก้อนกิน ตามความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง
        • นำไปตากแดดให้แห้ง

        งานกลุ่ม

        งานชิ้นที่ 1 การจุดสีสร้างภาพ
        • วาดภาพอะไรก็ได้ใส่กระดาษ 100 ปอนด์ ให้เป็นรูปร่าง
        • ใช้คัตเติ้ลบัตจุ่มลงไปที่สีน้ำ พร้อมกับจุดลงไปตามพร้อมที่วาด
        • เสร็จแล้วนำไปตากให้แห้ง

        งานชิ้นที่ 2 การละเลงสี
        • นำกาวที่ทำจากแป้ง ที่อาจารย์ได้ทำไว้แล้ว มาเทลงบนกระดาษ
        • พร้อมกับใช้มือละเลงสีให้ทั่วไปทั้งแผ่น
        • ใช้นิ้วมือ วาดเป็นรูปตามต้องการ
        • งานชิ้นนี้ต้องใช้เวลาตากเป็นเวลานาน เพราะต้องรอจนกว่ากาวที่ทำจากแป้งจะแห้ง   
        การนำไปประยุกต์ใช้
        1. เด็กจะได้ฝึกปฏิบัติจริง มีประสบการณ์ตรง เรียนรู้ผ่านการสังเกตและฝึกกิจกรรมอย่างหลากหลาย
        2. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนากล้ามเนื้อเล็กได้เป็นอย่างดี และยังเชื่อมโยงพัฒนาการในด้านต่างๆ
        3. ครูควรส่งเสริมจัดกิจกรรมให้เด็กมีประสบการณ์ตรงและฝึกปฏิบัติอย่างหลากหลาย
        4. การสอนศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย จะต้องจัดกิจกรรมให้เด็กอย่างหลากหลายรูปแบบ
        การประเมินการเรียนการสอน
        ตนเอง 100% : มาเรียนสายไป 10 นาที ชอบในการทำกิจกรรมที่หลากหลายรูปแบบ และหลากหลายเทคนิคที่เกี่ยวกับการพับ เป่าสี กลิ้งสี หยดสี เป็นต้น
        เพื่อน 100% : เพื่อนๆชอบในการทำกิจกรรม แต่ว่ากิจกรรมในวันนี้เยอะไปหน่อย ทำให้เพื่อนๆจำชิ้นงานของตนเองไม่ได้ บางคนชิ้นงานหาย หรือชิ้นงานปลิวไปทับกัน ทำให้เกิดความเสียหาย และความวุ่นวายตามมา
        อาจารย์ผู้สอน 100% : อธิบายงานแต่ละชิ้น ให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียด บอกเทคนิค ขั้นตอนในการทำ มีการสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่าง คอยช่วยเหลือในเรื่องอุปกรณ์ต่างๆ

        ครั้งที่ 6
        วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
        เวลาเรียน 08.30 - 10.00 น.


        ความรู้ที่ได้รับ
        • กิจกรรมในวันนี้มีทั้งหมด 10 กิจกรรม งานเดี่ยว 7 ชิ้นงานและงานกลุ่ม 3 ชิ้นงาน ดังต่อไปนี้
        งานเดี่ยว

        ชิ้นงานที่ 1
        • การวาดภาพด้วยสีเทียน โดยไม่ใช้ดินสอในการร่างเป็นเส้นหรือรูปร่าง วาดเป็นรูปอะไรก็ได้

        ชิ้นงานที่ 2
        • เลือกสีเทียนและระบายเป็นแนวนอน แนวทะแยง หรือยังไงก็ได้ตามชอบ
        • จากนั้นนำสีชอล์กที่มีสีเข้ม เช่น สีดำ สีน้ำตาล สีน้ำเงิน เป็นต้น มาระบายทับสีเทียน
        • ใช้ไม้จิ้มฟัน หรือ ตะปู มาขูด วาดให้เป็นรูปภาพตามที่เราสนใจ

        ชิ้นงานที่ 3
        • นำแม่แบบรูปภาพที่เป็นกระดาษทราย มารองทับกับกระดาษ A4
        • นำสีเทียนมาฝนบนกระดาษ A4 ก็จะเกิดรูปร่างของรูปที่เราเลือก **ไม่จำเป็นต้องเป็นสีเดียว**

        ชิ้นงานที่ 4
        • นำกระดาษมาวาดรูปที่เราชอบ
        • จากตัดกระดาษทราย และติด ส่วนประกอบของรูป ดังภาพนี้

        ชิ้นงานที่ 5 
        • ใช้สีเทียนวาดรูปลงในกระดาษ A4 ให้เรียบร้อย **วาดแค่โครงสร้างของภาพ ไม่ต้องระบายสี**
        • พอวางเสร็จให้นักศึกษาขย้ำกระดาษให้ยับที่สุด
        • นำสีน้ำมาระบายลงไปในกระดาษให้เต็มแผ่น

        ชิ้นงานที่ 6
        • ใช้สีชอล์กที่เป็นสีอ่อนๆ เช่น สีขาว สีเทา และสีไข่ วาดภาพเป็นโครงสร้าง โดยไม่ต้องระบายลงใบ
        • จากนั้นใช้สีน้ำ เช่น สีแดง สีเหลือง สีเขียว และสีน้ำเงิน เป็นต้น ให้ระบายรูปภาพที่วาด **ไม่จำเป็นต้องใช้สีเดียวทั้งหมด**

        ชิ้นงานที่ 7
        • ปั้นดินเหนี่ยว เป็นรูปอะไรก็ได้ตามที่เราชอบ

        งานกลุ่ม

        ชิ้นงานที่ 1
        • ใช้สีชอล์กวาดรูปลงไปในผ้าดิบสีขาว
        • ระบายสีให้สวยงาม
        • พอวาดเสร็จ นำกระดาษหนังสือมารองและมาปิดทับบนผ้า พร้อมใช้เตารีด รีดลงบนไปบนกระดาษหนังสือให้น้ำมันที่ผสมกับสีชอล์กระเหยออก **เด็กๆอาจให้ผู้ปกครองหรือครูผู้สอนทำให้ เพราะอาจเกิดอันตรายได้**
        • มาเปิดออกมาดู สีชอล์กจะเป็นเนื้อเดียวกัน

        ชิ้นงานที่ 2
        • ใช้สีเทียน 3 สี โดยจับรวมกันแล้ววาดภาพตามที่ชอบ
        • ไม่ต้องเป็นต้องเป็นสีที่เหมือนกัน

        ชิ้นงานที่ 3
        • ใช้วัสดุจากธรรมชาติมาทำให้เกิดลวดลาย เช่น เปลีอกไม้ ใบไม้ พื้นถนน เหรียญบาท เป็นต้น
        • ใช้สีเทียนระบายลงไปบนกระดาษ โดยที่มีเศษวัสดุวางอยู่ด้านล่าง จะทำให้เกิดลวดลายในสิ่งที่เราต้องการ

        สรุปกิจกรรม
        • ระหว่างทำกิจกรรมศิลปะ  ครูต้องจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม  เช่น แสงสว่างพอเหมาะ มีเสียงดนตรีเบา ๆ บรรยากาศผ่อนคลาย
        • การเชื่อมโยงสมองซีกซ้ายเข้ากับซีกขวาที่เป็นด้านจินตนาการ  ดังนั้น งานศิลปะจึงไม่ควรเป็นการลอกเลียนแบบหรือต้องทำให้เหมือนจริง รวมทั้งไม่เน้นความถูกต้องของสัดส่วน  
        • ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ สังคม และความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เด็กสนุกสนาน ซึมซับความงามของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว 
        • มีความมั่นใจ ภาคภูมิใจในผลงานของตน ควบคู่กับความสามารถถ่ายทอดการรับรู้ภายในด้านมิติ รูปทรง ขนาด  ฯลฯ ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์เด็ก
        • ฝึกให้เด็กรู้จักการทำงานร่วมกัน รู้จักปรับตัวและปรับความคิดให้สอดคล้อง ยอมรับซึ่งกันและกัน
        การนำไปประยุกต์ใช้
        1. กิจกรรมวาดภาพระบายสี เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งซึ่งช่วยในการทำงานประสานกันระหว่างมือและตา เด็กจะรู้จัก สี เส้น รูปทรง พื้นผิว เป็นต้น 
        2. กิจกรรมการปั้น การปั้นดินน้ำมันหรือ ดินเหนียว แป้งโด ฯลฯ มาปั้นเป็นรูปต่างๆตามจินตนาการของเด็กแต่ ละคนซึ่งจะแตกต่างกันไปเป็นการฝึกสมาธิ และพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆของเด็กเด็กจะได้เรียนรู้ รูปร่างต่างๆ
        3. กิจกรรมการฝนสีด้วยกระดาษทราย ในการจัดกิจกรรมดังกล่าว ครูสามารถส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ที่เพิ่มจุดเชื่อมต่อของใยประสาท  โดยส่งเสริมให้เด็กสังเกตรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ พัฒนาการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับสายตา การพัฒนาระบบกายสัมผัสโดยให้เด็กมีโอกาสสัมผัสรับรู้วัสดุที่มีผิวสัมผัสต่างกันในระหว่างทำกิจกรรมสร้างสรรค์  เช่น ผ้าสักหลาด กำมะหยี่ กระดาษทราย กระดาษที่มีผิวสัมผัสต่างกัน
        การประเมินการเรียนการสอน
        ตนเอง 100% : เข้าเรียนตรงเวลา นำอุปกรณ์การเรียนมาพร้อมเสมอ ทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อนๆได้ 
        เพื่อน 100% : มาสายบ้าง เพื่อนตื่นเต้นกับการทำชิ้นงานต่างๆ ส่วนใหญ่ชอบงานปั้น เพราะเพื่อนๆจะสนุกสนาน ร่างเริง ได้ปั้น ได้แสดงผลงานของตนเอง
        อาจารย์ผู้สอน 100% : เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมทางศิลปะที่หลากหลาก แต่ละชิ้นงานจะมีเทคนิค และประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัย ทั้งในด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา เป็นต้น

        วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

        ครั้งที่ 5
        วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
        เวลาเรียน 08.30 - 10.00 น.
        ความรู้ที่ได้รับ


        วัสดุ อุปกรณ์ สำหรับงานศิลปะเด็กปฐมวัย
        วัสดุ คือ สิ่งที่ใช้แล้วหมดไป เช่น กระดาษ สี กาว เป็นต้น
                  เป็นวัสดุที่มีขายทั่วไปหรือเป็นวัสดุจากธรรมชาติ หลีกเลี่ยงวัสดุที่เป็นอันตรายกับเด็ก เช่น วัสดุที่มีปลายแหลม คม แตกหักง่าย ภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมี หรือน้ำยาต่างๆที่ยังอาจติดค้าง หรือมีกลิ่นระเหยที่เป็นอันตรายต่อเด็ก
        วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย
        กระดาษ
                  หาง่าย ราคาไม่แพง เป็นวัสดุที่เด็กคุ้นเคย เช่น กระดาษวาดเขียน กระดาษปรู๊ฟ กระดาษโปสเตอร์สีต่างๆ กระดาษมันปู กระดาษจากนิตยสารที่ไม่ใช้แล้ว เป็นต้น
                  ครูควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้งานของกิจกรรมนั้นๆเพื่อจะได้งานที่ดี สวยงามและเหมาะสมไม่ควรใช้กระดาษที่มีราคาแพงจนเกินไป
        กระดาษวาดเขียน
                  ซึ่งมีความหนาไม่เท่ากัน ที่เรียกเป็นปอนด์มี 60 80 100 ใช้ได้ดีกับงานวาดรูประบายสีทุกชนิดสำหรับเด็ก
        กระดาษโปสเตอร์
                  มีทั้งชนิดหน้าเดียวและสองหน้า ทั้งหนาและบาง มีหลากหลายสี สีสันสดใส ราคาค่อนข้างแพง ใช้พับ ทำงาน 3 มิติ เป็นส่วนมาก
        กระดาษมันปู
                  กระดาษผิวเรียบมันด้านหนา กระดาษด้านหลังสีขาว มีทุกสี เนื้อบาง ทำศิลปะประเภทฉีก ตัด พับ ปะกระดาษ
        กระดาษจากนิตยสาร
                  นำมาใช้กับเด็กเล็กๆเพราะไม่ต้องซื้อหา ซึ่งสามารถใช้แทนกระดาษมันปูได้เป็นอย่างดี ในนิตยสารจะมีรูปต่างๆ ฝึกให้เด็กได้ตัดตามรูปร่าง
        กระดาษหนังสือพิมพ์
                  จะมีลักษณะที่บาง มีหมึกที่อาจเลอะมือเด็กได้มากกว่า แต่ก็มีขนาดใหญ่ นำมารองเป็นที่นั่ง ทำงานได้เยอะ ฝึกให้เด็กตัด พับ ฉีก เพราะกระดาษมีลักษณะที่บาง และมีราคาถูก


        สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย
        สี
        จะดึงดูดความสนใจจากเด็กได้เป็นอย่างดี เช่น สีเทียน สีฝุ่น สีโปสเตอร์ สีผสมอาหาร สีจากธรรมชาติต่างๆ มีคุณสมบัติและข้อบ่งใช้ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับกิจกรรมแต่ละประเภทที่จัดให้กับเด็ก
        สีเทียน ( Caryon )
                  คือสีที่ผสมกับขี้ผึ้งแล้วทำเป็นแท่ง สีเทียนที่มีราคาถูกมักมีส่วนผสมของขี้ผึ้งมากกว่าเนื้อสี นำมาใช้จะได้สีอ่อนๆใสๆไม่ชัดเจนมีเทียนไขเกาะกระดาษหนา
                  ควรเลือกชนิดที่มีเนื้อสีมากกว่าเนื้อเทียน มีสีสด แท่งโต เพื่อที่เด็กหยิบจับถนัดมือกว่าแท่งเล็กและไม่หักง่าย ถ้าไม่มีสีขาวเลยจะดีมาก เพราะเด็กใช้สีขาวน้อย


        สีชอล์กเทียน ( Oil Pasteal )
                  ราคาแพงกว่าสีเทียนธรรมดา สีสดใส เนื้อนุ่ม สีหนา สามารถใช้เล็บ นิ้วมือ หรือกระดาษทิชชู ตกแต่ง สีชอล์กมักจะทำเป็นแท่งกลมเล็กๆและมีสีมากเกินไปเหมาะสำหรับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก




        สีเทียนพลาสติก ( Plastic Crayon )
                  ผลิตขึ้นจากสีและพลาสติกผสม มีสีสดหลายสี ใช้ระบายสีง่าย เหลาได้เหมือนดินสอ ระบายในส่วนที่มีรายละเอียดได้และสามารถใช้ยางลบธรรมดาลบ แต่มีราคาแพง


        สีเมจิก ( Water Color )
                  คล้ายปากกามี 2 ชนิด คือ ชนิดปลายแหลมและปลายตัด เป็นสีที่สว่างสวยงามสดใส เหมาะสำหรับการขีดเขียนลายเส้น ไม่เหมาะสำหรับเด็กเล็กๆจะชอบเพราะใช้สะดวก สีสด แห้งเร็ว ถ้าเปื้อนล้างออกง่าย ไม่เหมาะแก่การระบายสี ความเข้มของสีไม่มีความสม่ำเสมอ



        ปากกาปลายสักหลาด ( Felt Pen )
                   ปากเป็นสักหลาดแข็ง ภายในบรรจุด้วยหลอดสี  ไม่เหมาะในการระบายพื้นที่กว้าง ถ้าทิ้งไว้นานๆ สีจะซีดเร็ว ควรให้เด็กสวมปลอกปากกาทุกครั้งที่เขียนเสร็จ


        ดินสอ ( Pencil ) 
                  ไม่ควรใช้ดินสอเป็นเครื่องมือในการวาดรูปสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี เพราะการเสดงออกตามธรรมชาติของเด็กจะหดหายไป


        ดินสอสี ( Color Pencil )
                  หรือสีไม้ เหมาะสำหรับเด็กโตๆ มากกว่าเด็กเล็กๆ เพราะนอกจากจะหัก ทู่ง่าย ต้องเหลาบ่อยๆ มีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับเทียนหรือสีประเภทผสมน้ำ


        สีฝุ่น ( Tempera ) 
                  เป็นสีผง ทึบแสง มีหลายสี ใช้ผสมน้ำให้ใสข้นเป็นครีมอาจผสมกาวหรือแป้งเปียกด้วย มีราคาถูกกว่าสีประเภทอื่น เก็บไว้ใช้ได้นาน


        สีโปสเตอร์ ( Poster Color )
                  ผลิตบรรจุขวดขาย เป็นสีทึบแสง มีหลายสีใช้ผสมน้ำ เป็นสีที่ผสมเสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมใช้ มีราคาแพงกว่าสีฝุ่น เป็นสีที่เด็กๆ ใช้ง่าย แต่ถ้าต้องการสีอ่อนๆ จะผสมน้ำไม่ได้ จะต้องใช้สีขาวผสมจะได้สีอ่อน ระบายได้เรียบ


        สีน้ำ ( Water Color )
                  เป็นสีโปร่งแสง ไหล ผสมกลมกลืนง่าย ใช้ในส่วนที่เป็นรายละเอียดได้ มีทั้งที่เป็นหลอดและก้อน เด็กเล็กๆ มักจะไม่ค่อยชอบใช้สีน้ำ เพราะจะต้องคอยใช้พู่กันจามสีอยู่เสมอจึงวาดได้ ทำให้กระดาษเป็นรอยจุดๆ เส้นต่างๆ จะไหลไปถึงกัน ทำให้ภาพไม่ชัดเจน จนในที่สุดก็ดูไม่รู้เรื่อง ทำให้เด็กเบื่อเพราะควบคุมสียาก จึงเหมาะกับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก


        สีพลาสติก ( Plastic or Acrylic )
                  มีขายตามร้านวัสดุก่อสร้าง บรรจุในกระป๋องหลายขนาด ราคาสูง มีเนื้อสีข้น ระบายได้เนื้อสีหยาบ มีกลิ่น เหมาะกับงานใหญ่ที่ไม่ต้องใช้รายละเอียดมาก
                  ข้อเสียคือ แปรงหรือพู่กันจะต้องจุ่มไว้ในน้ำเสมอ ขณะที่พักการใช้ชั่วคราว และจะต้องล้างอย่างดีหลังจากเลิกใช้แล้ว เนื่องจากสีมีคุณสมบัติแห้งเร็วจะทำให้พู่กันหรือแปรงแข็งใช้ไม่ได้


        สีจากธรรมชาติ
                  จะเป็นสีที่ได้จาก ผัก ผลไม้ ดอกไม้ ใบไม้ ลำต้น ราก หรือ เปลือกของพืช ดิน ฯลฯ เป็นสีที่ไม่สารเคมีเจือปน สีจากธรรมชาติบางชนิดก็อาจเป็นอันตรายที่เกิดจากอาการแพ้ในรูปแบบต่างๆ ได้
        วัสดุในการทำศิลปะ
                  กาว  กาวที่เหมาะสมกับเด็กมากที่สุดคือกาวที่กวนเองจากแป้งมันหรือแป้งข้าวเหนียว เรียกว่าแป้งเปียก ราคาถูก ใช้งานได้ง่ายกว่ากาวชนิดอื่นๆ  ไม่เหนียวเหนอะหนะหรือยืดยาวเป็นเส้น ล้างออกง่าย
        วัสดุที่ใช้ในการทำศิลปะ
        ดินเหนียว มีความนิ่มเหนียว นำมาใช้ปั้น ตากแห้งหรือเผาเป็นเครื่องปั้นดินเผาได้ ระบายสีได้
        ดินน้ำมัน เป็นดินที่มีส่วนผสมของน้ำมันผสมอยู่ มีกลิ่นแรง เนื้อนิ่มเมื่อโดนความร้อน เหนียวติดมือไม่เหมาะกับเด็กเล็กๆ
        ดินวิทยาศาสตร์ มีลักษณะนิ่ม มีหลายสี ไม่เหนียวติดมือเหมือนดินน้ำมัน และมักจะไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายเจือปน จึงเหมาะสำหรับเด็ก
        วัสดุที่ใช้ในการทำศิลปะ


        ฟองน้ำ เชือก ทราย เส้นอาหาร เศษผ้า แกนทิชชู เกล็ดปลา 
        จานกระดาษ เปลือกหอย ขวดพลาสติก เมล็ดธัญพืช
        อุปกรณ์ที่ใช้ในงานศิลปะ
                อุปกรณ์ คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน เป็นสิ่งที่ไม่หมดเปลืองไป แต่มีอายุในการใช้งานยืนนานตามชนิด ได้แก่ พู่กัน จานสี ผ้ากันเปื้อน กรรไกร แปรง กระดาษลวดลาย ขาตั้งวาดภาพ เป็นต้น
        ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี
        1.  สีเป็นองค์ประกอบของศิลปะที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกมากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่น
        2.  สีเป็นวัตถุที่ได้จากธรรมชาติหรือจากที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมา
                  - สีจากธรรมชาติ เช่น สีของดอกไม้ ใบไม้ ผล ราก ลำต้น
                  - สีจากการสังเคราะห์ขึ้นมา เช่น สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีอะคริลิก สีฝุ่น สีน้ำมัน สีทาบ้าน สีพลาสติก ฯลฯ


        อิทธิพลของสีที่ให้ความรู้สึก
        สีเหลือง : ร้อนและเย็น สว่าง เลื่อมใส น่าศรัทธา สดชื่น
        สีแดง : ร้อนรุนแรง ตื่นเต้น เร้าใจ
        สีเขียว : เย็น เจริญงอกงาม สดชื่น
        สีน้ำเงิน : เย็น สงบเงียบ ความมั่นคง ความอุดมสมบูรณ์
        สีม่วง : เศร้า ลึกลับ ร้อนและเย็น มีเสน่ห์
        สีส้ม : ร้อน รุนแรง ตื่นเต้น
        สีน้ำตาล : ความแห้งแล้ง น่าเบื่อหน่าย
        สีดำ : เศร้า มืด หนักแน่น น่ากลัว
        สีเทา : สงบ สบายใจ เคร่งขรึม
        สีขาว : สะอาด บริสุทธิ์ เรียบง่าย สว่าง
        สีฟ้า : สว่าง มีชีวิตชีวา
        สีชมพู : ร่าเริง สดใส
        ใบงานกิจกรรม
        วาดภาพต่อเติมเส้นที่กำหนดให้ พร้อมตกแต่งและระบายสีให้สวยงาม
        วาดลวดลายที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละช่อง
        วาดโครงร่างอะไรก็ได้ที่ชอบ 1 ชนิด และออกแบบลวดลายตามจินตนาการพร้อมระบายสี
        ลากเส้นต่อจุดสิ่งมีชีวิต
        ลากเส้นต่อจุดสิ่งไม่มีชีวิต





        ครั้งที่ 5
        วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
        เวลาเรียน 12.20 - 13.00 น.


        ความรู้ที่ได้รับ



        วาดภาพต่อเติม
        - เด็กจะวาดภาพจากประสบการณ์เดิมที่มีอยู่
        - ส่วนใหญ่จะวาดสิ่งมีชีวิต ได้แก่ คน สัตว์ และพืช
        - เด็กจะวาดภาพต่อเติมได้ไม่เหมือนกับผู้ใหญ่ เพราะเด็กจะวาดตามจินตนาการ
        -  จะวาดจากสิ่งที่ชอบ

        วาดภาพใส่ช่อง 36 ช่อง
        - ในความเป็นศิลปะสามารถทำได้ทุกอย่าง
         - ไม่จำกัดความคิด
        - เกิดจินตนาการที่แตกต่าง
        - การใช้เส้นต่างๆให้เกิดภาพ 

        ออกแบบลวดลาย
        - ได้คิดผลงานของเราเอง
        - เกิดจินตนาการ
        -  ได้เรียนรู้เส้น สีต่างๆ

        ลากเส้นต่อจุด "สิ่งมีชีวิต"
         - รูปบางอย่างดูยาก ไม่เหมือนของจริง
         - ต้องเข้าถึงความแตกต่างของเด็ก
        - อาจมีหลากหลายรูปในชิ้นงาน โดยต้องสื่อออกมาให้ได้คืออะไร
        - เรียนรุ้เรื่องเส้น
        - การลากเส้นจากจุด 1 ไปอีกจุด 1 ทำให้เกิดเรื่องราว

        ลากเส้นต่อจุด "สิ่งไม่มีชีวิต"
        - บางอย่างคล้ายของจริง
        - ส่วนใหญ่มักจะวาดบ้าน

          รวมผลงานจากเพื่อนๆ

        ประเมินการเรียนการสอน
              ตนเอง 100 % : เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์ได้สอน อุปสรรค์ที่จะถดถ้อยความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย คือ การใช้ดินสอในการทำผลงานศิลปะ เพราะ การใช้ดินสอในการวาดรูปเราไม่สามารถดูออกเลยว่าเด็กจะสื่อสารอะไร มีสีสันอย่างไร ถ้าเปรียบเทียบกับเด็กที่ใช้สีในการวาดรูปเด็กจะมีจินตนาการมากกว่า
              เพื่อน 100 % : มีส่งเสียงคุยบ้าง ตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
              อาจารย์ 100 % : มีความตั้งใจ สื่อสาร ถ่ายทอดความรู้ เทคนิคเล็กๆน้อยให้นักศึกษา มีกิจกรรมให้ได้ลงมือปฎิบัติเกี่ยวกับงานศิลปะที่หลากหลาย