วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 17
วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ.2558

จัดนิทรรศการศิลปะ

บรรยากาศภายในนิทรรศการศิลปะ

ผลงานของนักศึกษาทุกคนเป็นกิจกรรมศิลปะต่างๆ
เช่น งานสร้างสรรค์จากจานกระดาษ เพ้นท์หิน ร้อยสร้อยเป็นต้น

อาจารย์กำลังรวบรวมคะแนนเพื่อแจกของรางวัล
ซึ่งดิฉันอดได้ เนื่องจากลืมไปปั๊ม TT


และนาทีต่อจากนี้ไป....ทุกท่านจะได้พบกับ
เหล่าโฉมหน้าผู้กล้าทั้งชายและหญิง

จะมานำเสนอ...."สอนศิลป์" ให้ได้รับ 
ได้ชมกัน ณ บัดนี้ ไปดูพวกเขาเหล่านั้นกัน




รูปแบบของการจัดนิทรรศการศิลปะ
นิทรรศการศิลปะที่นิยมจัดกันโดยทั่วไป แบ่งรูปแบบการจัดได้เป็น 3 แบบ คือ
  1. นิทรรศการถาวร เป็นนิทรรศการที่จัดแสดงไว้เพื่อให้ประโยชน์ต่อผู้เข้าชมได้ในเวลายาวนาน ติดตั้งจัดแสดงไว้อย่างมั่นคง ได้แก่ การจัดนิทรรศการของหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ต่างๆ  ซึ่งได้รวบรวมผลงานทางศิลปะ แสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ไว้เพื่อให้สาธารณชน ศึกษาได้ตลอดไป
  2. นิทรรศการชั่วคราว เป็นนิทรรศการที่จัดแสดงเรื่องราวเฉพาะกิจ ในโอกาสพิเศษบางโอกาส จะใช้เวลาสั้นๆ  ไม่กี่วัน หรือ 2 – 3 สัปดาห์ การเผยแพร่ความรู้ ข่าวสาร หรือ ประชาสัมพันธ์เรื่องต่างๆ การจัดนิทรรศการวันสำคัญต่างๆ หน่วยงานทางราชการ บริษัท และสถานศึกษา นิยมจัดนิทรรศการประเภทนี้เพราะเป็นการประชาสัมพันธ์ ให้ข่าวสารความรู้ได้เป็นอย่างดี
  3. นิทรรศการเคลื่อนที่ เป็นนิทรรศการที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดคล้ายกับนิทรรศการชั่วคราว หรือบางคราวก็นำนิทรรศการชั่วคราวไปแสดงเคลื่อนที่ยังสถานที่ต่างๆ  เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้สนใจโดยทั่วไป
จุดมุ่งหมายในการจัดนิทรรศการศิลปะ
  1. เพื่อเผยแพร่ผลงานศิลปะ 
  2. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความประทับใจ ด้านศิลปะแก่ผู้ชม
  3. เพื่อเพิ่มพูนพัฒนา ความรู้ ทักษะทางศิลปะแก่ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ
  4. เพื่อเป็นเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ 
  5. เพื่อพัฒนา ประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้จัดนิทรรศการ

ระยะเวลา ในการจัดนิทรรศการศิลปะ
การจัดนิทรรศการชั่วคราวและการจัดนิทรรศการเคลื่อนที่นั้น ควรกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน การจัดแสดงนิทรรศการผลงานศิลปะ ก็ควรจะเป็นช่วงระยะเวลาที่ไม่ซ้ำซ้อนกับนิทรรศการอื่นๆ  เรื่องระยะเวลานั้นก็คงกำหนดตามความเหมาะสมของสถานที่ ตามโอกาสอันสมควรในแต่ละครั้งคราวไป

สถานที่ในการจัดนิทรรศการศิลปะ
ควรเป็นสถานที่ซึ่งคนส่วนใหญ่รู้จัก เดินทางสะดวกหรือเลือกสถานที่ให้เหมาะสมกับเรื่องราวที่จะจัดนิทรรศการนั้นๆสถานที่จัดนิทรรศการ สามารถแยกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
  1. การจัดภายนอกหรือกลางแจ้ง ได้แก่ การจัดนิทรรศการที่จัดขึ้นบริเวณที่ว่าง เช่น ลานนอกอาคาร สนามหญ้าระเบียง การจัดนิทรรศการภายนอกใช้จัดกับสิ่งของ เรื่องราวและตัวอย่างงานที่มีขนาดใหญ่ หรือเรื่องที่จัดขึ้นบางครั้งก็มีการจัดสาธิตประกอบ ซึ่งไม่เหมาะที่จะจัดภายในอาคาร
  2. การจัดภายในหรือในร่ม ได้แก่ การจัดนิทรรศการที่จัดขึ้นในห้องต่างๆ  เช่น ห้องเรียน ห้องโถงกว้างๆ  หรือห้องนิทรรศการโดยเฉพาะ การจัดนิทรรศการภายในใช้กับสิ่งของที่ต้องจัดเป็นสัดส่วน เหมาะสมกับการจัดเฉพาะในร่ม ตลอดจนการดูแลรักษาอาจเป็นระยะเวลายาวนาน และสิ่งของที่นำมาจัดนั้นมีค่าควรอยู่ภายในร่มมากกว่าภายนอกหรือกลางแจ้ง

หลักการจัดนิทรรศการศิลปะ        
       การจัดนิทรรศการศิลปะมีหลักในการจัด ดังนี้
       1. การติดภาพหรือตัวอย่างผลงาน
              1.1 ภาพหรือตัวอย่างผลงานที่สำคัญ ควรจัดแยกจากภาพอื่นๆ โดยเน้นให้เด่นชัดและควรมีขนาดใหญ่โตกว่าภาพอื่นๆ  เพื่อดึงดูดความสนใจ
              1.2 ใช้สีตกแต่งให้น่าสนใจ โดยเฉพาะภาพที่ไม่มีสี ควรใช้สีมาช่วยเน้นให้สดใส เด่นชัดมากขึ้นด้วยการเน้นพื้นหรือกรอบภาพ
              1.3 ภาพหรือตัวอย่างผลงาน ไม่ควรมีมากเกินไป ควรคัดเลือกเฉพาะภาพที่จำเป็นและมีความสำคัญมาจัดแสดง
       2. การเขียนตัวอักษร
       การจัดนิทรรศการบางครั้งต้องใช้ตัวหนังสือเพื่ออธิบายให้ผู้ชมได้เข้าใจ โดยมีหลักในการเขียนดังนี้
       2.1  ควรเขียนให้อ่านได้สะดวกในระยะห่าง 12 – 15 ฟุต
       2.2  ความยาวของข้อความอ่านได้ตามสบายในเวลา ประมาณ 15 – 30 วินาที
       2.3  ความสูงของตังอักษรประมาณ 1 – 3 นิ้ว ส่วนหัวเรื่องควรใหญ่กว่าตัวอื่นๆ
       2.4  ควรใช้ภาษาแบบง่ายๆ  อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที
       2.5  แบบของตัวอักษรควรเป็นแบบราชการ หรือ แบบที่อ่านง่าย และควรใช้เป็นแบบเดียวกันจะดูดีกว่าหลายๆ แบบ
       2.6  สีของตัวอักษรกับพื้นหลังให้ติดกัน เพื่อสะดวกในการอ่าน
       3. การตั้งวางสิ่งของเพื่อจัดแสดง
       ผลงานบางชนิดนำมาตั้งหรือวางเพื่อแสดง ได้แก่ งานประติมากรรมหรือสิ่งประดิษฐ์อื่นๆ  อาจเป็นการตั้งกลางแจ้งหรือในร่มตามความเหมาะสม ถ้าเป็นงานขนาดใหญ่ต้องตั้งในบริเวณพื้นที่กว้างมากๆ  งานขนาดเล็กอาจตั้งวางบนโต๊ะก็พอ
       ผลงานบางอย่างต้องใช้แขวนหรือห้อยเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ สร้างบรรยากาศของงานให้เป็นไปในอีกลักษณะหนึ่งควรแขวนให้อยู่ในระดับสายตาหรือสูงกว่าเล็กน้อย

ประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง : จัดนิทรรศการในครั้งนี้คอยช่วยเพื่อนในการช่วยวางชิ้นงาน การขนย้ายสิ่งของต่างๆ ส่วนเรื่องการจัดผ้านี้ต้องยกให้เป็นหน้าที่ของเพื่อนกลุ่มอื่นเลย เพราะไม่มีความสามารถในด้านนี้เลยจริงๆ แต่พอจัดเสร็จก็ช่วยกันเก็บขยะ นำของไปเก็บให้อย่างเรียบร้อย
เพื่อน : มีความตั้งใจ กระตือรือร้นมาก นำผลงานศิลปะมาอย่างเต็มที่มาก แบ่งหน้าที่ได้ชัดเจน ใครถนัดจับผ้า ใครสะดวกในการปีนป่าย ก็แบ่งๆกันทำไป
อาจารย์ :  พอจัดเสร็จก็มีพูดคุยในการจัด การวางตำแหน่งของชิ้นงานต่างๆ ว่าควรวางไว้ที่ไหนอย่างไรจึงจะเหมาะสม เห็นแล้วสะดุดสายตาแก่ผู้ชม
เจ้าชายกบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น