วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 19
"กิจกรรมปั้นดินน้ำมันแสนสนุก"
วัสดุ / อุปกรณ์

1. ดินน้ำมันไร้สารพิษ
2. กล่อง CD ใส

3. ยาทาเล็บสีใส
ขั้นตอนการทำ
  1. คิดภาพที่เราอยากจะปั้นดินน้ำมันเป็นเรื่องราว
  2. ค่อยๆปั้นดินน้ำมันแล้วนำมาแปะบนกล่องซีดี
  3. เมื่อปั้นดินน้ำมันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ใช้ยาทาเล็บสีใสมาทา 3 - 4 รอบ เพื่อให้ดินน้ำมันมีความเงางาม
  4. นำไปตากแดดให้แห้งสนิท
**ไม่ควรทาในอากาศที่อับชื้น ไม่มีอาการถ่ายเท เพราะจะทำให้ยาทาเล็บเกิดฟองอากาศได้**

ชื่อผลงาน : อุธยานป่าเขียว


ครั้งที่ 18
นำเสนอ"สอนศิลป์ ตอนเกมตกปลา"


วัสดุ / อุปกรณ์
                                                       1. กระดาษสี

2. ปากกาสีมาร์กเกอร์


 3. ไหมพรม


4. ตะเกียบ


5. กรรไกร


6. กาว


7. แกนกระดาษทิชชู


วิธีการทำปลา
1. หารูปภาพปลาที่เราอยากได้มาเป็นต้นแบบ

2. วาดภาพปลาลงบนกระดาษสีที่เตรียมไว้ ถ้าอยากได้สีสันก็ใช้กระดาษสีอื่นๆทำเป็นลวดลายของปลา
3. จากนั้นก็ตัดส่วนที่วาดภาพปลาไว้และลวดลายของปลา
4. นำสีมาร์กเกอร์มาวาดเป็นตาปลา
5. นำชิ้นส่วนต่างๆของปลามาประกอบเข้าด้วยกัน
6. ใช้แกนกระดาษทิชชูมาทากาวแล้วติดไปข้างในตัวปลา
7. แล้วใช้ไหมพรมเจาะที่แกนกระดาษทิชชูแล้วมัดเป็นห่วง
8. ใช้ไหมพรมทากาวแล้วนำไปติดกับไม้ตะเกียบไว้ เราก็จะได้เบ็ดตกปลา



       
         สิ่งที่เด็กได้รับ




ด้านร่างกาย
  1. เป็นการพัฒนาทักษะเบื้องต้น เพื่อการฝึกกิจกรรมต่าง ๆ 
  2. ได้พัฒนาสมองในการที่จะควบคุมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวและตอบสนองในสภาพการณ์ต่าง ๆ
  3. พัฒนาความคล่องแคล่วในการเคลื่อนไหวของร่างกาย
  4. ส่งเสริมทักษะพิเศษเฉพาะบุคคล เพื่อเป็นการนำไปใช้ในการฝึกกิจกรรม หรือการเล่นกีฬาต่าง ๆ

ด้านจิตใจ
  1. ได้รับความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และผ่อนคลายความเคลียด
  2. เกิดทัศนคติที่ดีในการเล่น เหมาะสมกับตนเองและผู้อื่น
  3. ส่งเสริมและสร้างเสริมคุณธรรม คติธรรม และความมีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
  4. ช่วยให้มีอารมณ์ร่าเริง สดชื่น แจ่มใส
  5. ยอมรับในความคิดเห็นของผู้อื่นในขณะเดียวกันก็กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นต่อผู้อื่น

ด้านสังคม
  1. เกิดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และเข้ากับหมู่คณะได้
  2. ฝึกการเป็นผู้นำตามที่ดี และเกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน
  3. ยอมรับสภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล
  4. มีความกล้าแสดงออกอย่างเปิดเผย

ด้านสติปัญญา
  1. รู้จักแก้ไขสถานการณ์เฉพาะได้
  2. การคิดอย่างมีเหตุผล
  3. สามารถนับเลขได้

ครั้งที่ 17
วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ.2558

จัดนิทรรศการศิลปะ

บรรยากาศภายในนิทรรศการศิลปะ

ผลงานของนักศึกษาทุกคนเป็นกิจกรรมศิลปะต่างๆ
เช่น งานสร้างสรรค์จากจานกระดาษ เพ้นท์หิน ร้อยสร้อยเป็นต้น

อาจารย์กำลังรวบรวมคะแนนเพื่อแจกของรางวัล
ซึ่งดิฉันอดได้ เนื่องจากลืมไปปั๊ม TT


และนาทีต่อจากนี้ไป....ทุกท่านจะได้พบกับ
เหล่าโฉมหน้าผู้กล้าทั้งชายและหญิง

จะมานำเสนอ...."สอนศิลป์" ให้ได้รับ 
ได้ชมกัน ณ บัดนี้ ไปดูพวกเขาเหล่านั้นกัน




รูปแบบของการจัดนิทรรศการศิลปะ
นิทรรศการศิลปะที่นิยมจัดกันโดยทั่วไป แบ่งรูปแบบการจัดได้เป็น 3 แบบ คือ
  1. นิทรรศการถาวร เป็นนิทรรศการที่จัดแสดงไว้เพื่อให้ประโยชน์ต่อผู้เข้าชมได้ในเวลายาวนาน ติดตั้งจัดแสดงไว้อย่างมั่นคง ได้แก่ การจัดนิทรรศการของหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ต่างๆ  ซึ่งได้รวบรวมผลงานทางศิลปะ แสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ไว้เพื่อให้สาธารณชน ศึกษาได้ตลอดไป
  2. นิทรรศการชั่วคราว เป็นนิทรรศการที่จัดแสดงเรื่องราวเฉพาะกิจ ในโอกาสพิเศษบางโอกาส จะใช้เวลาสั้นๆ  ไม่กี่วัน หรือ 2 – 3 สัปดาห์ การเผยแพร่ความรู้ ข่าวสาร หรือ ประชาสัมพันธ์เรื่องต่างๆ การจัดนิทรรศการวันสำคัญต่างๆ หน่วยงานทางราชการ บริษัท และสถานศึกษา นิยมจัดนิทรรศการประเภทนี้เพราะเป็นการประชาสัมพันธ์ ให้ข่าวสารความรู้ได้เป็นอย่างดี
  3. นิทรรศการเคลื่อนที่ เป็นนิทรรศการที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดคล้ายกับนิทรรศการชั่วคราว หรือบางคราวก็นำนิทรรศการชั่วคราวไปแสดงเคลื่อนที่ยังสถานที่ต่างๆ  เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้สนใจโดยทั่วไป
จุดมุ่งหมายในการจัดนิทรรศการศิลปะ
  1. เพื่อเผยแพร่ผลงานศิลปะ 
  2. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความประทับใจ ด้านศิลปะแก่ผู้ชม
  3. เพื่อเพิ่มพูนพัฒนา ความรู้ ทักษะทางศิลปะแก่ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ
  4. เพื่อเป็นเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ 
  5. เพื่อพัฒนา ประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้จัดนิทรรศการ

ระยะเวลา ในการจัดนิทรรศการศิลปะ
การจัดนิทรรศการชั่วคราวและการจัดนิทรรศการเคลื่อนที่นั้น ควรกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน การจัดแสดงนิทรรศการผลงานศิลปะ ก็ควรจะเป็นช่วงระยะเวลาที่ไม่ซ้ำซ้อนกับนิทรรศการอื่นๆ  เรื่องระยะเวลานั้นก็คงกำหนดตามความเหมาะสมของสถานที่ ตามโอกาสอันสมควรในแต่ละครั้งคราวไป

สถานที่ในการจัดนิทรรศการศิลปะ
ควรเป็นสถานที่ซึ่งคนส่วนใหญ่รู้จัก เดินทางสะดวกหรือเลือกสถานที่ให้เหมาะสมกับเรื่องราวที่จะจัดนิทรรศการนั้นๆสถานที่จัดนิทรรศการ สามารถแยกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
  1. การจัดภายนอกหรือกลางแจ้ง ได้แก่ การจัดนิทรรศการที่จัดขึ้นบริเวณที่ว่าง เช่น ลานนอกอาคาร สนามหญ้าระเบียง การจัดนิทรรศการภายนอกใช้จัดกับสิ่งของ เรื่องราวและตัวอย่างงานที่มีขนาดใหญ่ หรือเรื่องที่จัดขึ้นบางครั้งก็มีการจัดสาธิตประกอบ ซึ่งไม่เหมาะที่จะจัดภายในอาคาร
  2. การจัดภายในหรือในร่ม ได้แก่ การจัดนิทรรศการที่จัดขึ้นในห้องต่างๆ  เช่น ห้องเรียน ห้องโถงกว้างๆ  หรือห้องนิทรรศการโดยเฉพาะ การจัดนิทรรศการภายในใช้กับสิ่งของที่ต้องจัดเป็นสัดส่วน เหมาะสมกับการจัดเฉพาะในร่ม ตลอดจนการดูแลรักษาอาจเป็นระยะเวลายาวนาน และสิ่งของที่นำมาจัดนั้นมีค่าควรอยู่ภายในร่มมากกว่าภายนอกหรือกลางแจ้ง

หลักการจัดนิทรรศการศิลปะ        
       การจัดนิทรรศการศิลปะมีหลักในการจัด ดังนี้
       1. การติดภาพหรือตัวอย่างผลงาน
              1.1 ภาพหรือตัวอย่างผลงานที่สำคัญ ควรจัดแยกจากภาพอื่นๆ โดยเน้นให้เด่นชัดและควรมีขนาดใหญ่โตกว่าภาพอื่นๆ  เพื่อดึงดูดความสนใจ
              1.2 ใช้สีตกแต่งให้น่าสนใจ โดยเฉพาะภาพที่ไม่มีสี ควรใช้สีมาช่วยเน้นให้สดใส เด่นชัดมากขึ้นด้วยการเน้นพื้นหรือกรอบภาพ
              1.3 ภาพหรือตัวอย่างผลงาน ไม่ควรมีมากเกินไป ควรคัดเลือกเฉพาะภาพที่จำเป็นและมีความสำคัญมาจัดแสดง
       2. การเขียนตัวอักษร
       การจัดนิทรรศการบางครั้งต้องใช้ตัวหนังสือเพื่ออธิบายให้ผู้ชมได้เข้าใจ โดยมีหลักในการเขียนดังนี้
       2.1  ควรเขียนให้อ่านได้สะดวกในระยะห่าง 12 – 15 ฟุต
       2.2  ความยาวของข้อความอ่านได้ตามสบายในเวลา ประมาณ 15 – 30 วินาที
       2.3  ความสูงของตังอักษรประมาณ 1 – 3 นิ้ว ส่วนหัวเรื่องควรใหญ่กว่าตัวอื่นๆ
       2.4  ควรใช้ภาษาแบบง่ายๆ  อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที
       2.5  แบบของตัวอักษรควรเป็นแบบราชการ หรือ แบบที่อ่านง่าย และควรใช้เป็นแบบเดียวกันจะดูดีกว่าหลายๆ แบบ
       2.6  สีของตัวอักษรกับพื้นหลังให้ติดกัน เพื่อสะดวกในการอ่าน
       3. การตั้งวางสิ่งของเพื่อจัดแสดง
       ผลงานบางชนิดนำมาตั้งหรือวางเพื่อแสดง ได้แก่ งานประติมากรรมหรือสิ่งประดิษฐ์อื่นๆ  อาจเป็นการตั้งกลางแจ้งหรือในร่มตามความเหมาะสม ถ้าเป็นงานขนาดใหญ่ต้องตั้งในบริเวณพื้นที่กว้างมากๆ  งานขนาดเล็กอาจตั้งวางบนโต๊ะก็พอ
       ผลงานบางอย่างต้องใช้แขวนหรือห้อยเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ สร้างบรรยากาศของงานให้เป็นไปในอีกลักษณะหนึ่งควรแขวนให้อยู่ในระดับสายตาหรือสูงกว่าเล็กน้อย

ประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง : จัดนิทรรศการในครั้งนี้คอยช่วยเพื่อนในการช่วยวางชิ้นงาน การขนย้ายสิ่งของต่างๆ ส่วนเรื่องการจัดผ้านี้ต้องยกให้เป็นหน้าที่ของเพื่อนกลุ่มอื่นเลย เพราะไม่มีความสามารถในด้านนี้เลยจริงๆ แต่พอจัดเสร็จก็ช่วยกันเก็บขยะ นำของไปเก็บให้อย่างเรียบร้อย
เพื่อน : มีความตั้งใจ กระตือรือร้นมาก นำผลงานศิลปะมาอย่างเต็มที่มาก แบ่งหน้าที่ได้ชัดเจน ใครถนัดจับผ้า ใครสะดวกในการปีนป่าย ก็แบ่งๆกันทำไป
อาจารย์ :  พอจัดเสร็จก็มีพูดคุยในการจัด การวางตำแหน่งของชิ้นงานต่างๆ ว่าควรวางไว้ที่ไหนอย่างไรจึงจะเหมาะสม เห็นแล้วสะดุดสายตาแก่ผู้ชม
เจ้าชายกบ

ครั้งที่ 16
วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ.2558

นำเสนอการสอนกลุ่มในแผนกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
กลุ่มที่ 1 หน่วยยานพาหนะ


โดยให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมเป็นครู แล้วแต่ว่าแต่ละกลุ่มจะจัดการอย่างไร

วาดรูปยานพาหนะโดยใช้สีเทียน


เมื่อทำกิจกรรมเสร็จ ก็ขอตัวแทนออกมานำเสนอผลงานของตนเอง
ครูอาจเลือกทั้งห้องหรือขอตัวแทน 2 - 3 คนเป็นต้น

กลุ่มที่ 2 หน่วยสัตว์น่ารู้ (กิจกรรมพิเศษไอศครีมหรรษา)

โดยจะให้เด็กๆเลือกรูปทรงสามเหลี่ยม สีเหลี่ยม วงกลม มาประดิษฐ์ให้เป็นรูปสัตว์
เมื่อเด็กประดิษฐ์ผลงานเสร็จ ครูต้องเขียนชื่อของเด็กไว้ที่ไม้ไอศครีมด้วย

กลุ่มที่ 3 หน่วยข้าว

ครูผู้สอนกำลังแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมต่างๆ

เด็กๆกำลังตกแต่งรูปต้นข้าวด้วยเมล็ดข้าวที่ย้อมสีสันต่างๆ
เช่น สีฟ้า สีแดง สีเขียวและสีส้มเป็น
กลุ่มที่ 4 หน่วยกล้วย


ครูกำลังร้องเพลง "คุณแม่ฉันไปตลาด"
เด็กๆกำลังพิมพ์ภาพจากก้านกล้วย
เด็กๆกำลังปั้นรูปกล้วยจากดินมัน
เด็กกำลังนำเสนอผลงาน ซึ่งน้องพลอยได้วาดเป็นรูปข้าวโพด
ซึ่งครูต้องอธิบายขั้นตอนให้ชัดเจนว่าจะให้เด็กนั้นวาดรูปอะไร

น้องโดนัทนั้นวาดเป็นรูปทุ่งดอกไม้ซึ่งแตกต่างจากเพื่อนที่วาดรูปกล้วย




เกร็ดความรู้นะจ๊ะ



ครูควรมีป้ายชื่อโต๊ะกิจกรรมต่างๆไว้

สำคัญ !!!
เมื่อเด็กปั้นผลงานเสร็จ ครูต้องเขียนชื่อเด็ก และชื่อผลงานของเด็กด้วยทุกครั้ง
เมื่อเด็กพูดอะไร ครูควรจดรายละเอียดที่เด็กได้สื่อสาร
การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง : วันนี้ไม่ค่อยสบาย กินยาแก้หวัดไปเลยทำให้เบลอๆ ที่สำคัญกางเกงยังเป้าแตกอีก เพื่อนๆและอาจารย์ก็ไม่ค่อยแซวเลย ขนาดเพื่อนทำกิจกรรมยังให้ดิฉันลงไปทำกิจกรรมอีก ซึ่งก็นั่งพับเพียบเรียบร้อยมาก ได้ความรู้เคล็ดลับต่างๆในการสอนศิลปะไปพอสมควร ได้เป็นครูในกิจกรรมพับสัตว์ แค่พูดเพื่อนๆก็ขำ หรืออาจเพราะเป็นคนที่สนุกสนาน เพื่อนๆเลยเฮฮาไปด้วย
เพื่อน : เพื่อนได้รับบทบาทเป็นครู มีตื่นเต้นกันทุกคนพูดติดขัดบ้าง บางกลุ่มอาจร้องเพลงเพื่อเป็นการเก็บเด็กก่อน การเป็นครูต้องมีไหวพริบที่ดี รวดเร็ว นี่คือสิ่งที่สำคัญและต้องควบคุมอารมณ์ของตนเองให้อยู่
อาจารย์ :  เวลาที่นักศึกษาสอน จะมีข้อชี้เเนะต่างๆ เทคนิคในการสอน การดูแลเด็กอย่างไร เมื่อเด็กมาต่อแถวเพื่อให้ครูเขียนในสิ่งที่เด็กทำผลงาน ครูควรมีวิธีการเช่นไรถ้าเด็กส่งเสียงดัง ซึ่งอาจารย์ก็ได้บอกไว้ 
หล่อทะลุกล้องเลยทีเดียว