วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 4
วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558
เวลาเรียน 08.30 - 10.10 น.

ความรู้ที่ได้รับ
...หลักการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย...

  • กิจกรรม คือ สิ่งที่จัดไว้สำหรับเด็ก
  • ประสบการณ์ คือพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
  • สีไม้ระบายน้ำ ไม่เหมาะกับเด็กปฐมวัย เพราะต้องการให้เด็กได้เรียนรู้ชนิดของสี
  • กิจกรรมศิลปะไม่จำเป็นต้องครบทั้ง 4 ด้าน 
  • ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการทำศิลปะกับเด็ก ผู้ปกครองได้เรียนรู้ถึงพัฒนาการเด็ก
  • ความรัก,เงินทอง,โชคลาภ มีอยู่ทุกอาชีพ แล้วแต่ใครจะเลือก สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับตัวเราเอง
  • ถ้ามองในมุมศิลปะ ทุกอย่างเป็นไปได้หมด
  • ผลงานศิลปะขึ้นอยู่ที่มุมมองของเรา




  • ครอบครัวเป็นตัวปลูกฝังนิสัยของเด็ก
  • คนเราส่วนใหญ่ชอบมองแต่สิ่งที่ไม่ดีก่อน เหมือนกันผลงานศิลปะบางทีอาจผิดบ้าง แต่สิ่งที่ผิดควรให้กำลังใจ
  • การที่เด็กจะนำผลงานศิลปะ เด็กต้องผ่านการสังเกต สำรวจ สิ่งต่างๆที่จะวาด ปั้น เป็นต้น
  • เด็กได้เรียนรู้ในการใช้เครื่องมือต่างๆที่ถูกต้อง
  • เด็กจะถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก ผ่านผลงานศิลปะ โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นประสบการณ์ตรง
  • ช่วยให้เด็กเผชิญความเป็นจริงที่เกี่ยวข้องกับ คน สัตว์ พืช สถานที่และเหตุการณ์ต่างๆเกิดจากประสบการณ์
  • การสอนศิลปะเด็กปฐมวัย ไม่ใช่การสอนให้เด็กวาดรูปเก่ง
  • ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความสามารถเด็กแต่ละคน
  • เป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดีงาม ละเอียดอ่อน
  • ปลูกฝังค่านิยม เจตคติ และคุณสมบัติที่ดีของศิลปะและวัฒนธรรมไทย
  • ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
บทบาทของครูศิลปะ 

ข้อควรคำนึงในการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย

การเตรียมการสำหรับการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
  • การสร้างข้อตกลง และระเบียบการใช้วัสดุ อุปกรณ์
  • การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอ
  • การจัดวางวัสดุ อุปกรณ์ให้เพียงพอ
  • การจัดเตรียมเครื่องมือรักษาความสะอาด ( ฟองน้ำ ผ้าเช็ดมือ ถังขยะ ถังน้ำ )
  • การจัดเตรียมพื้นที่ในการทำงานอย่างเหมาะสม และเพียงพอ
  • การจัดเตรียมผลงาน / การจัดสถานที่แสดงผลงาน
ลำดับขั้นตอนการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย

  • ขั้นตอนการสอนศิลปะ

1. เลือกเรื่องที่จะสอน
2. กำหนดจุดมุ่งหมายในการสอน
3. เตรียมการก่อนสอน
  • เตรียมแผนการสอน
- เรื่อง จุดประสงค์ เนื้อหา ระยะเวลา สื่อการสอน จำนวนเด็ก จำนวนกิจกรรม สถานที่
  • เตรียมอุปกรณ์การสอน 
4. ทดลองและตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนลงมือสอนจริง
5. ทำการสอนจริงตามแผน 
6. เตรียมตัวเด็กให้พร้อมก่อนลงมือทำผลงาน เช่น แบ่งกลุ่มเด็ก การให้เด็กสวมผ้ากันเปื้อน การปฏิบัติตามข้อตกลง
7. การปฎิบัติงานของเด็ก โดยมีครูเป็นผู้ดูแล แนะนำ ช่วยเหลือ ตลอดจนเขียนชื่อ และจดบันทึกข้อมูล
8. การเก็บ การรักษา และการทำความสะอาด
9. การประเมินผลงานเด็ก
 เทคนิควิธีสอนศิปะเด็กปฐมวัย
การสอนศิลปะเด็กให้ดีและประสบผลสำเร็จ
  • เข้าถึง
- ดูแล เอาใจใส่ ใกล้ชิดเด็กแต่ละคนอย่างเท่าเทียม
  • เข้าใจ
- ความสามารถ ความแตกต่างระหว่างบุคคล
  • ให้ความรัก 
 - รักและเข้าใจ สนับสนุนและพัฒนา ช่วยเหลือ
  • สร้างสรรค์บรรยากาศ 
- หลากหลาย สนุกสนาน อิสระ
  • มีระเบียบวินัย
- มีข้อตกลงร่วมกัน และปลูกฝังเรื่องระเบียบวินัยในการทำงาน
  • ปลอดภัย
- คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก
การสอนให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างเสรี มีอิสระในการสร้างสรรค์งาน
  • ฝึกหัดให้เกิดการเรียนรู้ ทดลองด้วยตนเอง ลองถูกลองผิด
  • เรียนรู้การวางแผนงานและแก้ไขปัญหา
  • ส่งเสริมการแสดงออกอย่างหลากหลายรูปแบบ
  • เน้นการเรียนปนเล่น
  • สนับสนุน  / เน้นเรื่องคุณค่าความงาม ความดี
การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง 100 % : เข้าเรียนตรงเวลา มีความเข้าใจในเนื้อหา อาจารย์ยกตัวอย่างที่เข้าใจได้ง่าย มีงานศิลปะให้นักศึกษาได้ทำ เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ โดยที่ไม่กดดัน ทำงานอย่างมีความสุข
เพื่อน 100 % : เข้าเรียนสายบางคน เพื่อนตั้งใจเรียน จดบันทึกต่างๆ ห้องเรียนสนุกสนานไม่เครียด
อาจารย์ 100 % : เตรียมพร้อมในการเรียนการสอน มีชิ้นงานทุกครั้งสม่ำเสมอ ยากง่ายปะปนกันไป สอนเข้าใจ ไม่เครียดนักศึกษาเกิดความสนุกสนานทุกครั้งที่เรียน

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 3
วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ.2558
เวลาเรียน 08.30 - 10.10 น.

กิจกรรม : มือน้อยสร้างสรรค์

  • เพื่อฝึกให้เด็กได้เกิดความคิดสร้างสรรค์
  • การวาดภาพโดยวาดร่างจากฝ่ามือ ยังไม่สมควรที่จะให้เด็กปฐมวัยทำ แต่ควรขีดๆ เขียนๆ เป็นเส้นๆจะง่ายกว่า
  • ได้สอนเรื่องสี
  • สามารถทำได้ทุกหน่วยการเรียนรู้
  • ครูต้องรู้จักบรูณาการ
มือน้อยสร้างสรรค์

  • ให้นักศึกษานักผลงานมาติดไว้หน้าห้อง
  • เด็กเกิดมิติภาพซ้อน ภาพเงา ภาพ 2 มิติและภาพ 3 มิติ
  • ผลงานศิลปะ ไม่มีขอบเขต
  • นำผลงานไปตัดขอบ ก็จะเกิดรูปมือของเพื่อนๆที่นำมาติดต่อๆกัน เกิดเป็นภาพที่สวยงาม
  • ผลงานศิลปะไม่มีถูกผิด
  • ทุกคนมีมุมมองในงานศิลปะไม่เหมือนกัน
  • จากที่ตัดตัดกรอบสีขาวออก ก็ได้เป็นภาพพื้นหลังที่สวยๆจากงานของเรา



ผลงานของฉัน


ความรู้ที่ได้รับ
  1. เด็กได้แสดงความรู้สึกผ่านผลงานศิลปอย่างสร้างสรรค์
  2. เกิดความคิดและจินตนาการที่กว้างขวาง
  3. ฝึกสมาธิของเด็กอยู่เสมอ เพื่อให้จิตใจสงบ
  4. เพื่อให้เด็กผ่อนคลายความเคร่งเครียด และพัฒนาสุขภาพจิต ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการต่าง ๆ อย่างสมบูรณ์ 


วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ.2558
เวลาเรียน 12.20 - 15.00 น.

ความรู้ที่ได้รับ
ศิลปะ คือ งานช่างฝีมือที่มนุษย์ใช้สติปัญญาสร้างสรรค์ขึ้น ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็น ผลงานที่มนุษย์ใช้ปัญญา ความศรัทธา และความพากเพียร พยายามสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ ได้แก่
  • จิตรกรรม (Painting) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการขีดเขียน  การวาด และระบายสี เพื่อให้เกิดภาพ เป็นงานศิลปะที่มี 2 มิติ เป็นรูปแบบไม่มีความลึกหรือนูนหนา แต่สามารถเขียนลวงตาให้เห็นว่ามีความลึกหรือนูนได้  ความงามของจิตรกรรมเกิดจากการใช้สีในลักษณะต่าง ๆ กัน


  • ประติมากรรม (Sculpture) เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการสร้างรูปทรง 3 มิติ มีปริมาตร มีน้ำหนักและกินเนื้อที่ในอากาศ โดยการใช้วัสดุชนิดต่าง ๆ วัสดุที่ใช้สร้างสรรค์งานประติมากรรม จะเป็นตัวกำหนด วิธีการสร้างผลงาน ความงามของงานประติมากรรม เกิดจากการแสงและเงา ที่ เกิดขึ้นในผลงานการสร้างงานประติมากรรม
  • สถาปัตยกรรม (Architecture)  หมายถึง  ผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยสิ่งก่อสร้าง อาคาร ที่อยู่อาศัยต่าง ๆ  การวางผังเมือง   การจัดผังบริเวณการตกแต่งอาคาร การออกแบบก่อสร้าง ซึ่งเป็นงานศิลปะ ที่มีขนาดใหญ่  และเป็นงานศิลปะที่มีอายุยืนยาว

ปรัชญาศิลปศึกษา
  • มุ่งสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์
  • ให้ความสำคัญกับกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน
  • ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ๆ
  • นำไปใช้พัฒนาชีวิตด้านอื่นๆได้
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ
  • ทฤษฎีพัฒนาการ
- พัฒนาการทางศิลปะของโลเวนเฟลด์ ( Lowenfeld ) : เพิ่มเติม
  • ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
- ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด ( Guilford ) : เพิ่มเติม
- ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ ( Torrance ) : เพิ่มเติม
- ทฤษฎีความรู้สองลักษณะ ( สมองสองซีก ) : เพิ่มเติม
- ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ ( Gardner ) : เพิ่มเติม
- ทฤษฎีโอตา ( Auta ) 

การประเมินการเรียนการสอน
  • ตนเอง 100 % : เข้าเรียนตรงเวลา สนใจในสิ่งที่ได้รับในวันนี้ จดบันทึกสิ่งที่นอกเหนือจากในเอกสาร
  • เพื่อน 100 % : มีมาเรียนสายบ้าง ทุกคนตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จภายในชั่วโมง
  • อาจารย์ 100 % : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ ได้ถ่ายทอดความรู้ ให้ข้อชี้แนะ ข้อคิดต่างๆเกี่ยวกับงานศิลปสำหรับเด็กปฐมวัย ให้ความใส่ใจกับนักศึกษาทุกคน

วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 2
วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ.2558
เวลาเรียน 08.30 - 10.10 น.


ความรู้ที่ได้รับ

ผลงานภาพยนต์สั้น โดยคุณย้ง-ทรงยศ สุขมากอนันต์มาก
  • อาจารย์ให้นักศึกษาดู VDO ด.เด็ก ช.ช้าง เมื่อดูแล้วได้ข้อคิดอะไรจากเรื่องนี้บ้าง
การเป็นครูเมื่อให้เด็กทำงานศิลปะ ไม่ควรใช้ความคิดของเราตัดสินผลงานของเด็ก เพราะความคิดของเรากับเด็กไม่เหมือนกัน

กิจกรรมในห้องเรียน
ชื่อกิจกรรม : วาดภาพระบายสี

ขณะที่อาจารย์แจกกระดาษต้องอธิบายก่อนว่า วันนี้มีกิจกรรมอะไรมาให้ทำ อย่าเพิ่งให้เขียนชื่อลงไป โดยให้เวลาในการทำครึ่งชัวโมง พร้อมกับนำภาพที่วาดเสร็จเรียบร้อยให้นักศึกษานำผลงานไปติดหน้าห้อง
วาดภาพตัวเองตามจินตนาการ


ชื่อภาพ : เจ้าหญิงช่างฝัน
  1. ถ้าเด็กให้เพื่อนวาดให้ ไม่ควรไปดุกล่าวว่าเด็ก
  2. การที่เด็กวาดภาพแล้วลบบ่อยๆนั้น ไม่ดีเท่าไหร่ เพราะต้องการให้เด็กกล้าติดสินใจในผลงานของตนเอง
  3. การวาดภาพเป็นการได้เล่นอย่างอิสระ
การเป็นครูปฐมวัย
เมื่อให้เด็กทำงานศิลปะ ควรเดินดูเด็กให้ทั่วทุกคน เพราะ

  1. ได้รู้พฤติกรรมเด็กของแต่ละคน ขณะทำกิจกรรม
  2. กระบวนการ ขั้นตอนในการวาดภาพของเด็ก
  3. ศิลปะทำให้เกิดพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ
ด้านร่างกาย : การใช้กล้ามเนื้อมือและตาที่สัมพันธ์กัน
ด้านอารมณ์ : มีความสุขในการทำงานศิลปะ
ด้านสังคม : การมีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อน
ด้านสติปัญญา : เด็กได้คิด เกิดจินตนาการ
     4. ครูช่วยเด็กได้บางเป็นครั้งคราว
     5. ความแตกต่างระหว่างบุคคลในการทำกิจกรรมวาดรูประบายสี
     6. ประเมินผลงาน และกระบวนการในการทำงาน ว่ามีความตั้งใจ
     7. คำนึงสภาะบริบทของแต่ละพื้นที่ เช่น ครูให้เด็กปั้นแป้งโดว์เป็นรูปสตอเบอร์รี่ เพราะเด็กบางคนอาจไม่เคยเห็น ไม่เคยเจอ เราไม่ควรไม่ตัดสินเด็ก
     8. เป็นการรู้ถึงพัฒนาการของเด็กในการวาดรูป
     9. การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของเด็ก

10. การติดกระดาษกาว พื้นที่ในการติดอาจเป็นพื้นที่จำกัด เราก็ต้องบอกให้เด็กติดจากซ้ายไปขวา
11. การติดกระดาษไม่มีผิดไม่มีถูก มีแหลกหลายขึ้นอยู่กับว่าเราจะติดแบบไหน
12. ได้เรียนเรื่องตณิตศาสตร์ โดยการนับใครเสร็จก่อน
13. การติดแบบสัญลักษณ์ คือ การติดชื่อของเด็ก ไม่ว่าจะแทนด้วยรูปสัตว์ ผลไม้ เป็นต้น
14. ศิลปะไม่จำเป็นต้องเสร็จในชั่วโมงนั้น สามารถทำเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา
15. การเล่าภาพของเด็ก ครูควรจดคำพูดของเด็ก
16. การใช้คำถามถามเด็ก ควรให้เด็กตอบเป็นประโยค เพื่อให้เด็กได้เรื่องภาษา
17. การใช้คำถาม ควรพูดกับเด็กอย่างไร "หนูเล่าที่หนูวาดให้ครูฟังหน่อยซิ"
18. ครูควรกระตุ้นภาษาของเด็ก 



วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ.2558
เวลาเรียน 12.20 - 15.00 น.

  • ให้นักศึกษาหาพัฒนาการด้านศิลปะของเด็กปฐมวัย เช่น
- การปั้น
- การตัด
 - การฉีก
- การปะ
- การขีดเขียน 
โดยสรุปใส่ A4 หรือ กระดาษลายเส้น 1 แผ่น ส่ง วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม 2558
กิจกรรมในห้องเรียน
เพื่อวัดความรู้พื้นฐานของนักศึกษา
การไปรับของจากอาจารย์
- แจกจ่ายให้เด็กมารับของ
- ถ้าให้เด็กมาคนเดียวรับของ ก็ไม่สามารถมารับได้หมด
- พยายามให้เด็กมีส่วนร่วมทุกคน
- แจกคำถาม แจกกระดาษและแจกสี ที่แจกสีทีหลังเพราะเด็กจะขีดเขียนเล่นก่อน หรือ จับ ดูด เลียสิ่งของเหล่านั้นได้
อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 6 คน 4 กลุ่ม และ 5 คน 1 กลุ่ม ให้เวลา 1 ชั่วโมงในการทำ พร้อมกับออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน



- สิ่งที่เด็กควรรู้ในเรื่องทิศทาง ได้แก่ ซ้าย ขวา หน้า หลัง บน และล่าง
- แสงและเงายังไม่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัย
- ความคิดในการถ่ายทอดผลงานไม่มีถูกผิด
- การใช้ตัวเลขกับงานศิลปะ คือ การแทนตัวเลข 1 เป็นสีเขียว เป็นต้น
- การนวดดินน้ำมัน เพื่อเป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือ
- การปั้นไม่จำเป็นต้องเป็นดินน้ำมัน อาจใช้แป้งโดว์ ดินเหนียว และกระดาษก็ได้
การประเมินการเรียนการสอน

  • ตนเอง 98% : มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานให้เสร็จเรียบร้อย โดยดิฉันทำหน้าที่เขียน และช่วยเสนอความคิดเห็นบ้าง
  • เพื่อน 98 % : มาเรียนสายเป็นบางคน เพื่อนตั้งใจทำงานเป็นอย่างดี ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน รู้จักวางแผนการทำงาน
  • อาจารย์ 100% : เข้าสอนตรงเวลา เดินดูขณะนักศึกษากำลังทำงานทุกกลุ่ม มีคำถามในการนำเสนองานของนักศึกษา


ครั้งที่ 1
วันพุธที่ 10 มกราคม พ.ศ.2558
เวลาเรียน 08:30-10:10


ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรีกฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
  • อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาการเรียนการสอนของวิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย คะแนนเก็บกี่คะแนน และคะแนนสอบเท่าไหร่ เพื่อให้นักศึกษาเตรียมพร้อมกับการเรียนการสอน