วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 9
วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2558
เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับ
ลูกชุบพาเพลิน (งานปั้น)
อุปกรณ์ในการทำ
1. ถั่วซีกเลาะเปลือก 1/2 โล
2. นำ้ตาลทราย 1/2 โล
3. ผงวุ้น 1 ห่อ
4. ไม้เสียบลูกชิ้นหรือไม้จิ้มฟัน
5. สีผสมอาหาร
6. โฟม แผ่นหนา เอามารองเวลาเสียบลูกชุบ
7. อุปกรณ์ไฟฟ้า หม้อหุงข้าว หรือ หม้อไฟฟ้า หรือกระทะไฟฟ้า อย่างใดอย่างหนึ่งพร้อมปลักสามตา
8. จาน ถ้วย (ใส่สีผสมอาหาร) 

ขั้นตอนการทำ
1. นำถั่วซีก ครึ่งกิโล ไปแช่น้ำประมาณ 5-10 ชั่วโมง 

2. นำมาต้ม ใส่ถั่วลงไปในหม้อใส่น้ำต้มจนสุกให้ถั่วเละแล้วเทน้ำออกให้แห้ง
3. ขยำถั่วให้เละ แล้วใส่น้ำตาลทรายครึ่งกิโลเติมเกลือลงไป1/2 -1 ช้อนชา 
4. กวนบนเตาประมาณครึ่งชั่วโมงตักขึ้นมาดูแล้วลองปั้นถ้าถั่วแห้งปั้นได้ก็พอแต่ถ้ายังแหลวปั้นไม่ได้ให้กวนไปจนกว่าจะปั้นได้
5. เสร็จแล้วเอาลงมาพักให้เย็น เก็บใส่ตู้เย็น วันรุ่งขึ้นนำมาทำลูกชุบในคาบเรียน

ปั้นเป็นรูปต่างๆ ที่เราชอบตามจินตนาการ
นำลูกชุบไปทาสี ตกแต่งตามใจชอบ
นำไปชุบวุ้นรอแห้ง แล้วนำมาจัดใส่จาน
สิ่งที่เด็กได้รับ
การปั้นลูกชุบกับการระบายสี จะช่วยเสริมสร้างการประสานสัมพันธ์ระหว่างประสาทตากับกล้ามเนื้อนิ้วมือให้ดียิ่งขึ้น
- การปั้นลูกชุบ เป็นกิจกรรมศิลปะที่พัฒนาอวัยวะกล้ามเนื้อนิ้วมือให้มีทักษะคล่องแคล่ว
- เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์
 
งานพิมพ์หรรษา
1. พิมพ์จากพืช (งานกลุ่ม) เช่น ใบต้น ราก ดอก ผล 


2. วัสดุที่หาได้ง่าย เช่น ฝาขวดน้ำ ขวดน้ำพลาสติก กระดาษ เป็นต้น


3. วัสดุที่แกะสลัก เช่น มันฝรั่ง แครท


4. พิมพ์จากฟองน้ำ แบบหนา  แบบบาง และแบบหยาบ


5. พิมพ์จากอวัยวะ (กลุ่ม) เช่น มือ เท้า รองเท้า เป็นต้น


 สิ่งที่เด็กได้รับ
การเป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆด้วยความคิดของตนเอง
เป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรง และสัมพันธ์กับการใช้ตา
การพิมพ์ภาพเป็นการสร้างภาพ หรือลวดลายที่เกิดจากการนำวัสดุหลายๆประเภท เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ ก้านกล้วย หรืออวัยวะของร่างกาย เช่น มือ เท้า มาใช้เป็นแม่พิมพ์กดทับลงบนสีแล้วนำไป 
ฝึกความประณีตและสมาธิ ทำ ให้เด็กเป็นคนมีสุนทรียภาพ มีความละเอียดอ่อนในจิตใจ
การนำไปใช้

  • มีความชื่นชมยินดีในงานที่ทำ มีความเอื้อเฟื้อเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และไม่มีอารมณ์เครียดจนเกินไป
  • ใช้วิธีการสร้างสรรค์สนับสนุนเด็กให้เลือกกิจกรรมศิลปะด้วยวิธีซึ่งเด็กจะแสดงออกหรือทำได้
  • เด็กได้พัฒนา มโนภาพเรื่องรูปทรง สี การที่เด็กได้เล่นร่วมกับเพื่อน พูดสนทนา แลกเปลี่ยนสิ่งของ รับผิดชอบร่วมกัน การรอคอย ตามลำดับช่วยส่งเสริมความพร้อมทางอารมณ์และสังคมแก่เด็ก

 การประเมินการเรียนการสอน

  • ตนเอง 93% : ตั้งใจทำกิจกรรม ลูกชุบเป็นกิจกรรมที่ทำนานมาก รู้สึกเบื่อ อากาศก็ร้อน เลยทำให้รู้สึกเพลียมาก ลูกชุบกว่าจะเคลือบเงาและให้กรอบต้องใช้เวลา
  • เพื่อน 95% : เพื่อนทุกคนรู้สึกเหนื่อยล้า กับการทำลูกชุบ เลยส่งผลในการทำกิจกรรมต่อไปเพื่อนๆไม่ค่อยกระตืนรือร้นเท่าไหร่
  • อาจารย์ 99% : อาจารย์ได้บอกขั้นตอนในการทำลูกชุบ คอยเดินดูนักศึกษาทุกกลุ่ม ให้คำแนะนำในการทำวุ้นและงานพิมพ์ต่างๆ

   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น