วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 12
วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558
เวลาเรียน 08.30 - 12.00 น.
ความรู้ที่ได้รับ
  • วันนี้ผลิตสื่อทั้งหมด 3 ชิ้นด้วยกัน ซึ่งมีงานกลุ่ม 2 ชิ้น และงานเดี่ยว 1 ชิ้น ดังต่อไปนี้
1. ศิลปะสื่อผสม (งานกลุ่ม)

ชื่อผลงาน : เจ้าหญิงราชพฤกษ์กับช่อดอกไม้

สิ่งที่ได้รับจากชิ้นงาน
  • เราสามารถถ่ายทอดเรื่องราวเป็นแบบสามมิติได้
  • วัสดุที่ใช้ในการสร้างผลงานสามารถหาได้จากวัสดุธรรมชาติ เช่น วัสดุจากพืช วัสดุสังเคราะห์ เช่น กระดาษ เป็นต้น
  • ฝึกให้ใช้สิ่งของร่วมกันและทำงานเป็นกลุ่ม
2. งานประดิษฐ์จากใบไม้แห้ง (งานกลุ่ม)

ชื่อผลงาน : เรือน้อยลำหนึ่ง

สิ่งที่ได้รับจากชิ้นงาน
  • มีพฤติกรรมดีงามในความสัมพันธ์กับเพื่อน สร้างความสามัคคี
  • การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
3. PAPER MACHE ART ศิลปะเปเปอร์มาเช่ (งานเดี่ยว)
ขั้นตอนการทำ
  • นำกระดาษทิชชูไปผสมกับน้ำ **อย่าใส่น้ำเยอะเกินไปเพราะทิชชูจะเละ**
  • นำสีผสมอาหารหรือสีโปสเตอร์ และกาวหรือแป้งเปียกมาผสมกันกับทิชชู

ชื่อผลงาน : ปูลมรสแซ่บ
สิ่งที่ได้รับจากชิ้นงาน
  • พัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างตากับมือให้มีความคล่องแคล่ว
  • รู้จักคิด วางแผนการทำงาน มีความละเอียดรอบคอบ ประณีตบรรจง พิถีพิถัน
  • เป็นสื่อที่ใช้ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกของผู้ที่สร้างงานได้เป็นอย่างดี
การนำไปประยุกต์ในการเรียน
  1. ช่วยฝึกให้เด็กสงบ นิ่ง มีสมาธิ จดจ่อกับการทำงานไม่วอกแวกและหวั่นไหว
  2. เด็กมีสุนทรียภาพ มีความมั่นใจ กล้าแสดงออก
  3. เด็กจะได้ความผ่อนคลาย ทำไปเรื่อยๆ ก็จะสนุกและเสริมสร้างสมาธิไปในตัวด้วย 
การประเมินการเรียนการสอน
  • ตนเอง 97 % : วันนี้เป็นการทำงานศิลปะที่ไวมาก เพราะมีแค่ 3 ชิ้น แต่จะทำช้าก็ตรงงานเดี่ยว เพราะต้องใช้ความพยายาม สมาธิในการทำงานกับการจดจ่อนั่งจิ้มๆกระดาษมาตกแต่งผลงาน แล้วก็ต้องรอให้แห้งด้วย แต่ต้องใช้เวลาประมาณ 2 วัน
  • เพื่อน 98 % : เพื่อนทุกคนต่างก็คิดและทำงานของตนเอง เพื่อนบางคนก็ทำจนเต็มแผ่น บางคนก็ปล่อยพื้นหลังทิ้งไว้
  • อาจารย์ 99 % : อาจารย์จะคอบบอกเทคนิคการทำผลงานให้กับนักศึกษา และเดินดูนักศึกษาอย่างทั่วถึงเพื่อให้คำชี้แนะต่างๆ

วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 11
วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2558
เวลาเรียน 08.30 - 14.00 น.
ความรู้ที่ได้รับ
  • วันนี้ทำงานทั้งหมด 5 ผลงานโดยมีงานกลุ่ม 2 ชิ้น และงานเดี่ยว 3 ชิ้น ดังต่อไปนี้
1. โมบาย (เดี่ยว)

ชื่อผลงาน : นกน้อยในมงกุฏ
สิ่งที่ได้จากผลงานชิ้นนี้
  • ได้คิดจินตนาการ
  • เกิดความคิดสร้างสรรค์
  • มีความเชื่อมั่นในตนเองและมีความรับผิดชอบ
2. งานประดิษฐ์จากจานกระดาษ (เดี่ยว) **ในกลุ่มห้ามซ้ำกัน**

ชื่อผลงาน : เจ้ายีราฟตัวอ้วน
สิ่งที่ได้จากผลงานชิ้นนี้
  • ฝึกให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ สร้างผลงานให้มีรูปร่างแปลกใหม่ 
  • รู้จักวางแผน ในการทำงานอย่างมีระบบ เป็นขั้นตอนในการปฎิบัติงาน
  • มีสมาธิและมีความสุขในการสร้างสรรค์ชิ้นงานประดิษฐ์ของตนเอง
3. ประดิษฐ์สร้อย จากหลอดพลาสติกและมักกะโรนี

ชื่อผลงาน : สร้อยนี้พี่รัก
ชื่อผลงาน : กำไลทับทิม
สิ่งที่ได้จากผลงานชิ้นนี้
  • เกิดความภูมิใจในชิ้นงานของตนเอง ในระดับหนึ่ง
  • งานประดิษฐ์ที่ใช้วัสดุต่างๆ ที่นำมาประกอบเป็นชิ้นงาน สามารถที่จะใช้วัสดุอย่างอื่นทดแทนกันได้ และสามารถนำวัสดุที่มีในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
  • การใช้ประสาทสัมผัสระหว่างตากับมือ
  • เด็กใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กได้ดี
4. ประดิษฐ์จากแกนทิชชู (กลุ่ม)


สิ่งที่ได้จากผลงานชิ้นนี้
  • รู้จักประหยัด สามารถนำสิ่งของที่เหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนมากนัก
  • เกิดความคิดสร้างสรรค์
  • สร้างผลงานให้มีรูปร่างแปลกใหม่ และพัฒนางานประดิษฐ์เดิมให้สามารถใช้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น
  • ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของคนในกลุ่ม
  • ความสามัคคีในการทำงานร่วมกัน
5. ประดิษฐ์จากของเหลือใช้ (กลุ่ม) นำข้อ 1 - 4 มาประดิษฐ์


สิ่งที่ได้จากผลงานชิ้นนี้
  • ฝึกให้นักศึกษารู้จักประหยัด สามารถนำสิ่งของที่เหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนมากนัก
  • สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นของใช้ ของประดับ และของตกแต่ง ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการใช้งานและมีความสวยงามน่าใช้   
  • เป็นการส่งเสริมให้เกิดความคิด จินตนาการ  ทำให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนทุกคน 
  • เป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมทางอ้อมด้วย  เพราะเป็นการใช้วัสดุอย่างคุ้มค่า

การนำไปประยุกต์ใช้
  • งานประดิษฐ์ช่วยให้เกิดความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะ
  • งานประดิษฐ์ช่วยให้การทำงานของสมองและประสาทสัมผัสประสานสัมพันธ์กัน
  • เป็นการฝึกลักษณะนิสัยในการทำงานให้มีความอดทน
  • เกิดความคิดหรือความคิดสร้างสรรค์ที่มุ่งสร้างผลงาน
  • ศิลปะไม่มีขอบเขตแห่งการสิ้นสุด สามารถสร้างความเพลิดเพลินให้แก่เด็กได้ตลอด
การประเมินการเรียนการสอน
  • ตนเอง 96 % : วันนี้ทำงานประดิษฐ์ 5 ชิ้น เป็นงานประณีต ละเอียด ซึ่งดิฉันทำนานมาก รู้สึกเหนื่อยมากเลย ทั้งคิด ทั้งตัด ออกแบบผลงานในแต่ละชิ้น ซึ่งกลุ่มดิฉันเป็นกลุ่มสุดท้ายอีกแล้วที่มำงานเสร็จ
  • เพื่อน 95 % : เพื่อนส่วนใหญ่ทำงานไวมาก มีกระบวนการทำงานที่ดี มีความสามัคคีกันเป็นอย่างดีและมีความคิดสร้างสรรค์
  • อาจารย์ 100 % : อธิบายงานแต่ละชิ้นได้ชัดเจน นักศึกษาเข้าใจง่าย

วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 10
วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2558
เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับ
งานกระดาษ
1. ฉีกปะ
  • ส่งเสริมการประสานการทำงานระหว่างตาและมือ
  • สนุกสนานเป็นการสร้างเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจด้วย
  • การกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
  • การเพิ่มสมาธิ
  • เพื่อให้เด็กได้ ฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
2. ตัดปะ
  • การตัดเป็นเส้นตรงจะง่ายกว่าเส้นโค้งสำหรับเด็กปฐมวัย
  • การเขียนเป็นเส้นโค้งจะเขียนง่ายกว่าให้เป็นเส้นตรง
  • การตัดปะ และการฉีกปะ ควรเป็นกระดาษหน้าเดียว
3. ขยำ
  • กระดาษทรายแก้วเมื่อนำมาให้เด็กขยำจะไม่ติดมือเด็ก
  • ฝึกการใช้กล้ามเนื้อมือได้คล่องแคล่วและแข็งแรง
4. สาน

  • การสานให้เป็นแนวนอนให้สานแนวตั้ง
  • การสานให้เป็นแนวตั้งให้สานแนวแนว
  • ควรเป็นกระดาษแข็งเหมาะสำหรับงานสาน แต่อย่าแข็งจนเกิดไป เพราะเด็กจะจับไม่ถนัดมือ
  • งานสานใช้กระดาษเท่าแผ่น A4 
  • เกิดมิติสัมพันธ์
5. เจาะ + ร้อย
  • ถ้าวัตถุที่มีความแหลมจะมีอันตรายต่อเด็ก ครูควรให้เด็กลองเจาะรูกับดินสอก่อน โดยใช้ฟองน้ำรองกระดาษเพื่อจะได้เห็นรูป เกิดลายต่างๆ 
  • ลักษณะคล้ายกับอักษรเบลล์ 
  • ใช้ไหมพรมร้อยให้เกิดรูปภาพ
  • สร้างสรรค์จินตนาการ
6. พับ
  • ครูควรพับเป็นแนวตั้ง แนวนอน แล้วให้เด็กฝึกตัดตามแบบก่อน
  • ครูควรดูแลเด็กขณะใช้อุปกรณ์อย่างใกล้ชิด ป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ
7. พับพัด
  • เป็นการพับสลับซ้ายและขวา
  • ควรให้เด็กหัดพับดูก่อน แล้วค่อยให้เด็กลงมือทำ
  • พับเสร็จสามารถต่อเติมให้เกิดรูปต่างๆตามจินตนาการ
  • ฝึกการใช้กล้ามเนื้อเล็กให้คล่องแคล่ว
8. พับ + วาดต่อเติม
  •  เกิดมิติ 2 , 3 มิติ
  • สร้างสรรค์จินตนาการ
9. พับรูปแบบต่างๆ



  • เกิดทักษะการสังเกต
  • ฝึกสมาธิ ความอดทนของเด็ก
  • ต้องเป็นรูปที่ไม่มีความซับซ้อนจนเกินไป
  • การใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี มีพัฒนาการที่ดีขึ้น
10. ม้วนกระดาษเส้น
  
  • เรียนรู้เรื่องสี
  • ฝึกสมาธิในการทำงาน
  • เกิดความคิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
การนำไปประยุกต์ใช้
  • พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ คือการใช้ความรู้ ความคิด และประสาทสัมผัสทั้งหมดมาสร้างแนวความคิดใหม่ของเด็ก
  • ฝึกการยอมรับผู้อื่น เด็กๆ ย่อมได้เห็นประสบการณ์การถ่ายทอดของกันและกัน เมื่อเพื่อนทำงานได้ดี การแสดงความชื่นชมเพื่อน หรือร่วมยินดีเมื่อเพื่อนได้รับคำชมเชย

การประเมินการเรียนการสอน
  • ตนเอง 96% : งานละเอียดมาก แล้วงานแต่ละชิ้นต้องคิด ออกแบบ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งบางทีก็คิดไม่ออกว่าจะวาดอะไร จะทำอะไร ต้องนั่งเฉยๆสัก 5 นาที หยุดคิดก่อน แล้วก็เกิดไอเดีย เกิดแรงในการทำงานต่อ
  • เพื่อน 97% : เพื่อนๆตั้งใจทำงาน ออกแบบชิ้นงานได้ดี บางชิ้นอาจใช้เวลานานบ้าง มีรายละเอียดเยอะ พอทำเสร็จก็ช่วยกันเก็บกวาดห้อง อย่างเรียบร้อย
  • อาจารย์ 100% : มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย สื่อ ผลงานแต่ละชิ้นที่นำมาให้ทำ ก็มีประโยชน์ ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลาย สามารถทำได้หลายรูปแบบแล้วต่อจินตนาการ

วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 9
วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2558
เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับ
ลูกชุบพาเพลิน (งานปั้น)
อุปกรณ์ในการทำ
1. ถั่วซีกเลาะเปลือก 1/2 โล
2. นำ้ตาลทราย 1/2 โล
3. ผงวุ้น 1 ห่อ
4. ไม้เสียบลูกชิ้นหรือไม้จิ้มฟัน
5. สีผสมอาหาร
6. โฟม แผ่นหนา เอามารองเวลาเสียบลูกชุบ
7. อุปกรณ์ไฟฟ้า หม้อหุงข้าว หรือ หม้อไฟฟ้า หรือกระทะไฟฟ้า อย่างใดอย่างหนึ่งพร้อมปลักสามตา
8. จาน ถ้วย (ใส่สีผสมอาหาร) 

ขั้นตอนการทำ
1. นำถั่วซีก ครึ่งกิโล ไปแช่น้ำประมาณ 5-10 ชั่วโมง 

2. นำมาต้ม ใส่ถั่วลงไปในหม้อใส่น้ำต้มจนสุกให้ถั่วเละแล้วเทน้ำออกให้แห้ง
3. ขยำถั่วให้เละ แล้วใส่น้ำตาลทรายครึ่งกิโลเติมเกลือลงไป1/2 -1 ช้อนชา 
4. กวนบนเตาประมาณครึ่งชั่วโมงตักขึ้นมาดูแล้วลองปั้นถ้าถั่วแห้งปั้นได้ก็พอแต่ถ้ายังแหลวปั้นไม่ได้ให้กวนไปจนกว่าจะปั้นได้
5. เสร็จแล้วเอาลงมาพักให้เย็น เก็บใส่ตู้เย็น วันรุ่งขึ้นนำมาทำลูกชุบในคาบเรียน

ปั้นเป็นรูปต่างๆ ที่เราชอบตามจินตนาการ
นำลูกชุบไปทาสี ตกแต่งตามใจชอบ
นำไปชุบวุ้นรอแห้ง แล้วนำมาจัดใส่จาน
สิ่งที่เด็กได้รับ
การปั้นลูกชุบกับการระบายสี จะช่วยเสริมสร้างการประสานสัมพันธ์ระหว่างประสาทตากับกล้ามเนื้อนิ้วมือให้ดียิ่งขึ้น
- การปั้นลูกชุบ เป็นกิจกรรมศิลปะที่พัฒนาอวัยวะกล้ามเนื้อนิ้วมือให้มีทักษะคล่องแคล่ว
- เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์
 
งานพิมพ์หรรษา
1. พิมพ์จากพืช (งานกลุ่ม) เช่น ใบต้น ราก ดอก ผล 


2. วัสดุที่หาได้ง่าย เช่น ฝาขวดน้ำ ขวดน้ำพลาสติก กระดาษ เป็นต้น


3. วัสดุที่แกะสลัก เช่น มันฝรั่ง แครท


4. พิมพ์จากฟองน้ำ แบบหนา  แบบบาง และแบบหยาบ


5. พิมพ์จากอวัยวะ (กลุ่ม) เช่น มือ เท้า รองเท้า เป็นต้น


 สิ่งที่เด็กได้รับ
การเป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆด้วยความคิดของตนเอง
เป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรง และสัมพันธ์กับการใช้ตา
การพิมพ์ภาพเป็นการสร้างภาพ หรือลวดลายที่เกิดจากการนำวัสดุหลายๆประเภท เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ ก้านกล้วย หรืออวัยวะของร่างกาย เช่น มือ เท้า มาใช้เป็นแม่พิมพ์กดทับลงบนสีแล้วนำไป 
ฝึกความประณีตและสมาธิ ทำ ให้เด็กเป็นคนมีสุนทรียภาพ มีความละเอียดอ่อนในจิตใจ
การนำไปใช้

  • มีความชื่นชมยินดีในงานที่ทำ มีความเอื้อเฟื้อเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และไม่มีอารมณ์เครียดจนเกินไป
  • ใช้วิธีการสร้างสรรค์สนับสนุนเด็กให้เลือกกิจกรรมศิลปะด้วยวิธีซึ่งเด็กจะแสดงออกหรือทำได้
  • เด็กได้พัฒนา มโนภาพเรื่องรูปทรง สี การที่เด็กได้เล่นร่วมกับเพื่อน พูดสนทนา แลกเปลี่ยนสิ่งของ รับผิดชอบร่วมกัน การรอคอย ตามลำดับช่วยส่งเสริมความพร้อมทางอารมณ์และสังคมแก่เด็ก

 การประเมินการเรียนการสอน

  • ตนเอง 93% : ตั้งใจทำกิจกรรม ลูกชุบเป็นกิจกรรมที่ทำนานมาก รู้สึกเบื่อ อากาศก็ร้อน เลยทำให้รู้สึกเพลียมาก ลูกชุบกว่าจะเคลือบเงาและให้กรอบต้องใช้เวลา
  • เพื่อน 95% : เพื่อนทุกคนรู้สึกเหนื่อยล้า กับการทำลูกชุบ เลยส่งผลในการทำกิจกรรมต่อไปเพื่อนๆไม่ค่อยกระตืนรือร้นเท่าไหร่
  • อาจารย์ 99% : อาจารย์ได้บอกขั้นตอนในการทำลูกชุบ คอยเดินดูนักศึกษาทุกกลุ่ม ให้คำแนะนำในการทำวุ้นและงานพิมพ์ต่างๆ

   
ครั้งที่ 8
วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
ช่วงวันสอบกลางภาค
23 ก.พ. 2558 ถึง 1 มี.ค. 2558